โรงเรียนร่มเกล้าพิทยาสรรค์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลร่มเกล้า อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีเขตพื้นที่บริการ 9 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านคำนางโอก บ้านนิคมร่มเกล้า บ้านหนองนกเขียน บ้านหนองสระพัง บ้านนาหลวง บ้านป่าแดง บ้านอุ่มไผ่ บ้านบะและบ้านคำแฮด  
     โรงเรียนร่มเกล้าพิทยาสรรค์ ได้รับการอนุมัติจากกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการให้เปิดเป็นสาขาของโรงเรียนคำสร้อยพิทยาสรรค์ อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ตั้งอยู่ที่ บ้านสุริโย หมู่ที่ 6 ตำบลร่มเกล้า อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร เมื่อวันที่ 5 เมษายน พุทธศักราช 2532
 เริ่มทำการเรียนการสอนเมื่อวันที่  16  พฤษภาคม พุทธศักราช 2532 เป็นต้นมา โดยจัด ชั้นเรียนเป็น  2 – 0 – 0  และได้รับการประกาศจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นโรงเรียนเอกเทศ เมื่อวันที่20 เมษายน พุทธศักราช 2533 โดยได้รับอนุญาตให้ใช้ที่ดินนิคมสร้างตนเองคำสร้อย กรมประชาสงเคราะห์ ซึ่งมีเนื้อที่  48  ไร่ โดยมีนายสำราญ จันปุ่ม อาจารย์ 2 ระดับ 6 โรงเรียนคำสร้อยพิทยาสรรค์ ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานสาขา

ปีการศึกษา 2534 โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กรมสามัญศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ (ค.อมต.ส.ศ.)
                   ปีการศึกษา 2538 โรงเรียนได้รับอนุมัติให้เปิดทำการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน  2  ห้องเรียน
                   ปีการศึกษา 2552 ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการโรงเรียนในฝันรุ่นที่ 3 (โรงเรียนดีประจำอำเภอ)
                   ปีการศึกษา 2554 ได้รับการรับรองเป็นต้นแบบโรงเรียนในฝันรุ่นที่ 3 (โรงเรียนดีประจำอำเภอ) ในวันที่ 12 มีนาคม 2555
                   ผู้บริหารนับแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีผู้บริหารแล้วทั้งหมด 5 คน ได้แก่
                    พ. ศ. 2532 – 2533 นายบุญรู้   บุตดีวงศ์ (ผู้อำนวยการโรงเรียนคำสร้อยพิทยาสรรค์รักษาราชการแทนครูใหญ่)
                    พ. ศ. 2533 – 2542    นายสำราญ  จันปุ่ม (ครูใหญ่ – อาจารย์ใหญ่ – ผู้อำนวยการโรงเรียน)
                    พ. ศ. 2542  - 2550 นายเศวต  จอมจุมพล (อาจารย์ใหญ่ - ผู้อำนวยการโรงเรียน)
                    พ. ศ. 2550 – 2554 นายวิมาลทอง  ยืนยง (ผู้อำนวยการโรงเรียน)
                    พ. ศ. 2554 – 2561  นายอดิศร คันธโรรส (ผู้อำนวยการโรงเรียน)
                    พ. ศ. 2561 – 2563  นายรังสิต บุญพอ (ผู้อำนวยการโรงเรียน)

                   พ. ศ. 2563 – ปัจจุบัน นายราชัน  อาจวิชัย (ผู้อำนวยการโรงเรียน)
                    ปัจจุบันมีผู้บริหาร  จำนวน 1  คน  ครู จำนวน 11 คน
ครูพี่เลี้ยงเด็กพิการ จำนวน 1 คน ลูกจ้างชั่วคราว จำนวน 1 คน และมีนักเรียนทั้งสิ้น  196  คน โดยมีนายราชัน  อาจวิชัย เป็นผู้บริหารโรงเรียน

ตราสัญลักษณ์โรงเรียน

พระเกี้ยวอยู่บนหมอนขิด
                   พระเกี้ยว  เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศาหรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์เปรียบเหมือนวิชาความรู้ คุณธรรมที่ทำให้เยาวชนเกิดปัญญา
                   หมอนขิด คือ หมอนที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวอีสาน มีความสวยงามและประโยชน์ใช้สอย เปรียบเหมือนการส่งเสริมให้เยาวชนอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีและภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน ดำรงตนอย่างเป็นสุขบนพื้นฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนล่างของหมอนขิดเป็นภาษาบาลี ซึ่งเป็นคติธรรมประจำโรงเรียน

ปรัชญาของโรงเรียน    ปัญญา  โลกัสสมิ  ปัชโชโต (ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก)

คติพจน์ของโรงเรียน    คุณธรรม จริยธรรมดี

คำขวัญของโรงเรียน   ศึกษาดี กีฬาเด่น เน้นคุณธรรม นำชุมชน

สีประจำโรงเรียน   สีม่วง -แสด
                       สีม่วง หมายถึง ความอดทน ความรู้ ความฉลาดและคุณธรรม
                       สีแสด หมายถึง ความใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ใฝ่ศึกษา ค้นคว้า

อักษรย่อของโรงเรียน    “ร.ก.”

ต้นไม้ประจำโรงเรียน     ต้นแดง

คุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติงานของครู  ตรงเวลา รู้หน้าที่ สามัคคี มีวินัย

อัตลักษณ์ของสถานศึกษา    ดนตรีโปงลาง แนวทางวิถีพุทธ                                              

เอกลักษณ์ของสถานศึกษา   วินัยดี ยิ้ม ไหว้ ทักทายสุภาพ